เมนู

8. มหาสีหนาทสูตร
เรื่องของอเจลกัสสป


[260] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-
ในสมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ กัณณกถลมิคทายวัน
ใกล้อุชุญญานคร. ครั้งนั้น อเจล ชื่อกัสสป เข้าไปเฝ้าพระมีพระภาคเจ้าถึง
ที่ประทับ ได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้
ระลึกถึงกันไปแล้ว ได้ยืน ณ ที่ควรส่วนสุดข้างหนึ่ง จึงกราบทูลว่า ข้าแต่
พระโคดมผู้เจริญ ข้าพเจ้าได้สดับมาว่า พระสมณโคดมทรงติตบะทุกอย่าง
ทรงคัดค้าน กล่าวโทษบุคคลผู้ประพฤติตบะทั้งปวง ผู้มีอาชีพเศร้าหมอง
โดยส่วนเดียว สมณพราหมณ์เหล่านั้น มักกล่าวตามคำที่พระโคดมผู้เจริญตรัส
ไว้ ไม่ชื่อว่ากล่าวตู่พระโคดมผู้เจริญคำไม่จริง และชื่อว่าพยากรณ์ธรรม
ตามสมควรแก่ธรรม อนึ่ง การกล่าวและการกล่าวตามที่ชอบธรรม แม้น้อย
หนึ่ง จะไม่ถึงฐานะที่ควรติเตียนแลหรือ ความจริงข้าพเจ้ามิได้มีความ
ประสงค์ที่จะกล่าวตู่พระโคดมผู้เจริญ. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนกัสสป
สมณพราหมณ์ผู้กล่าวอย่างนี้ว่า พระสมณโคดมทรงติตบะทุกอย่าง ทรงคัด
ค้าน กล่าวโทษบุคคลผู้ประพฤติตบะทั้งปวง ผู้มีอาชีพเศร้าหมองโดยส่วน
เดียว ไม่เป็นอันกล่าวตามเรา และไม่ชื่อว่ากล่าวตู่เราด้วยคำที่ไม่มีจริง ไม่
เป็นจริง. ดูก่อนกัสสป เราเห็นบุคคลผู้ประพฤติตบะมีอาชีพเศร้าหมองบาง
คนในโลกนี้ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
ก็มี เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ก็มี อยู่เป็นทุกข์เพราะบุญน้อย เข้าถึงอบาย ทุคติ
วินิบาต นรกก็มี อยู่เป็นทุกข์เพราะบุญน้อยเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ก็มี ด้วย

ทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ล่วงจักษุมนุษย์. ดูก่อนกัสสป เรานั้นรู้การมา การไป จุติ
และอุบัติของบุคคลผู้ประพฤติตบะเหล่านี้ ตามความเป็นจริงอย่างนี้ เราจัก
ติตบะทุกอย่าง จักคัดค้านกล่าวโทษบุคคลผู้ประพฤติตบะทั้งปวง ผู้มีอาชีพ
เศร้าหมองโดยส่วนเดียวทำไมเล่า.
[261] ดูก่อนกัสสป สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง เป็นบัณฑิต มีปัญญา
ละเอียด ทำการโต้เถียงผู้อื่น มีท่าทางเหมือนคนแม่นธนูอยู่ พวกเขาน่าจะ
เที่ยวทำลายทิฏฐิทั้งหลายด้วยปัญญา. ก็สมณพราหมณ์พวกนั้นย่อมลงกับเราใน
ฐานะบางอย่าง ไม่ลงกับเราในฐานะบางอย่าง. บางอย่างที่เขากล่าวว่าดี แม้
เราก็กล่าวว่าดี. บางอย่างที่เขากล่าวว่าไม่ดี แม้เราก็กล่าวว่าไม่ดี. บางอย่าง
ที่เขากล่าวว่าดี เรากลับกล่าวว่าไม่ดี. บางอย่างที่เขากล่าวว่าไม่ดี เรากลับ
กล่าวว่าดี. บางอย่างที่เรากล่าวว่าดี แม้สมณพราหมณ์พวกอื่นก็กล่าวว่าดี.
บางอย่างที่เรากล่าวว่าไม่ดี ฝ่ายหนึ่งก็กล่าวว่าดี. บางอย่างที่เรากล่าวว่าดี
ฝ่ายหนึ่งก็กล่าวว่าไม่ดี. บางอย่างที่เรากล่าวว่าไม่ดี ฝ่ายหนึ่งก็กล่าวว่าดี. เรา
เข้าไปหาสมณพราหมณ์พวกนั้นแล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ฐานะ
ที่เราไม่ลงกันจงงดไว้ ในฐานะทั้งหลายที่ลงกัน วิญญูชนจงซักไซ้ไล่เลียงสอบ
สวน เปรียบเทียบครูด้วยครู หรือเปรียบเทียบหมู่ด้วยหมู่ว่า ธรรมของท่าน
พวกนี้เหล่าใด เป็นอกุศล นับว่าเป็นอกุศล มีโทษ นับว่ามีโทษ ไม่ควรเสพ
นับว่าไม่ควรเสพ ไม่เป็นธรรมประเสริฐ นับว่าไม่เป็นธรรมประเสริฐ เป็น
ฝ่ายดำ นับว่าเป็นฝ่ายดำ ใครเล่าละธรรมเหล่านี้ได้ไม่มีเหลือประพฤติอยู่
พระสมณโคดมหรือคณาจารย์ผู้เจริญเหล่าอื่น.

[262] ดูก่อนกัสสป ก็ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้ คือวิญญูชนเมื่อซัก
ไซ้ไล่เลียง สอบสวน พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ธรรมของท่านพวกนี้เหล่าใด เป็น
อกุศล นับว่าเป็นอกุศล มีโทษ นับว่ามีโทษ ไม่ควรเสพ นับว่าไม่ควรเสพ
ไม่เป็นธรรมประเสริฐ นับว่าไม่เป็นธรรมประเสริฐ เป็นฝ่ายดำ นับว่าเป็น
ฝ่ายดำ พระสมณโคดมละธรรมเหล่านี้ได้ไม่มีเหลือ ประพฤติอยู่ หรือว่า ท่าน
คณาจารย์ผู้เจริญเหล่าอื่น. ดูก่อนกัสสป วิญญูชนในโลกนี้ เมื่อซักไซ้ไล่เลียง
สอบสวนดังนี้ โดยมากพึงสรรเสริญเราพวกเดียวในข้อนั้น.
[263] ดูก่อนกัสสป อีกข้อหนึ่งเล่า วิญญูชนจงซักไซ้ไล่เลียงสอบ
สวนพวกเรา เปรียบเทียบครูด้วยครู หรือเปรียบเทียบหมู่ด้วยหมู่ว่า ธรรม
ของท่านพวกนี้ เหล่าใดเป็นกุศล นับว่าเป็นกุศล ไม่มีโทษ นับว่าไม่มีโทษ
ควรเสพ นับว่าควรเสพ เป็นธรรมประเสริฐ นับว่าเป็นธรรมประเสริฐ เป็น
ฝ่ายขาว นับว่าเป็นฝ่ายขาว ใครเล่าสมาทานธรรมเหล่านี้ไม่มีเหลือ ประพฤติ
อยู่ พระสมณโคดมหรือคณาจารย์ผู้เจริญเหล่าอื่น. ดูก่อนกัสสป ก็ข้อนี้เป็นฐานะ
ที่จะมีได้ คือ วิญญูชน เมื่อซักไซ้ไล่เลียงสอบสวน พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ธรรม
ของท่านพวกนี้ เหล่าใดเป็นกุศล นับว่าเป็นกุศล ไม่มีโทษ นับว่าไม่มีโทษ
ควรเสพ นับว่าควรเสพ เป็นธรรมประเสริฐ นับว่าเป็นธรรมประเสริฐ เป็น
ฝ่ายขาว นับว่าเป็นฝ่ายขาว พระสมณโคดมสมาทานธรรมเหล่านี้ได้ไม่มี
เหลือ พระพฤติอยู่ หรือคณาจารย์ผู้เจริญเหล่าอื่น. ดูก่อนกัสสป วิญญูชนใน
โลกนี้ เมื่อซักไซ้ไล่เลียงสอบสวนดังนี้ โดยมากพึงสรรเสริญ เราพวกเดียว
ในข้อนั้น.

[264] ดูก่อนกัสสป อีกข้อหนึ่ง วิญญูชนจงซักไซ้ไล่เลียง สอบสวน
พวกเรา เปรียบเทียบครูด้วยครู หรือเปรียบเทียบหมู่ด้วยหมู่ว่า ธรรมของ
ท่านพวกนี้ เหล่าใด เป็นอกุศล นับว่าเป็นอกุศล มีโทษ นับว่ามีโทษ ไม่ควร
เสพ นับว่าไม่ควรเสพ ไม่เป็นธรรมประเสริฐ นับว่าไม่เป็นธรรมประเสริฐ
เป็นฝ่ายดำ นับว่าเป็นฝ่ายดำ ใครเล่าละธรรมเหล่านี้ได้ไม่มีเหลือ ประพฤติ
อยู่ หมู่สาวกของพระโคดม หรือหมู่สาวกของคณาจารย์ผู้เจริญเหล่าอื่น.
ดูก่อนกัสสป ก็ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้ คือ วิญญูชนเมื่อซักไซ้ไล่เลียงสอบสวน
พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ธรรมของท่านพวกนี้ เหล่าใด เป็นอกุศล นับว่าเป็นอกุศล
มีโทษ นับว่ามีโทษ ไม่ควรเสพ นับว่าไม่ควรเสพ ไม่เป็นธรรมประเสริฐ
นับว่าไม่เป็นธรรมประเสริฐ เป็นฝ่ายดำ นับว่าเป็นฝ่ายดำ หมู่สาวกของ
พระโคดมละธรรมเหล่านี้ได้ ไม่มีเหลือ ประพฤติอยู่ หรือหมู่สาวกของ
คณาจารย์ผู้เจริญเหล่าอื่น. ดูก่อนกัสสป วิญญูชนทั้งหลายในโลกนี้ เมื่อ
ซักไซ้ไล่เลียงสอบสวนดังนี้ โดยมากพึงสรรเสริญเราพวกเดียวในข้อนั้น.
[265] ดูก่อนกัสสป อีกข้อหนึ่ง วิญญูชนจงซักไซ้ไล่เลียง สอบสวน
พวกเรา เปรียบเทียบครูด้วยครู หรือเปรียบเทียบหมู่ด้วยหมู่ว่า ธรรมทั้งหลาย
ของท่านพวกนี้ เหล่าใด เป็นกุศล นับว่าเป็นกุศล ไม่มีโทษ นับว่าไม่มีโทษ
ควรเสพ นับว่าควรเสพ เป็นธรรมประเสริฐ นับว่าเป็นธรรมประเสริฐ
เป็นฝ่ายขาว นับว่าเป็นฝ่ายขาว ใครสมาทานธรรมเหล่านี้ได้ไม่มีเหลือ
ประพฤติอยู่ หมู่สาวกของพระโคดม หรือหมู่สาวกของคณาจารย์ผู้เจริญเหล่า-
อื่น. ดูก่อนกัสสป ก็ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้ คือ วิญญูชนเมื่อซักไซ้ไล่เลียง
สอบสวน พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ธรรมของท่านพวกนี้ เหล่าใด เป็นกุศล นับว่า
เป็นกุศล ไม่มีโทษ นับว่าไม่มีโทษ ควรเสพ นับว่าควรเสพ เป็นธรรม

ประเสริฐ นับว่าเป็นธรรมประเสริฐ เป็นฝ่ายขาว นับว่าเป็นฝ่ายขาว หมู่
สาวกของพระโคดมสมาทานธรรมเหล่านี้ได้ไม่มีเหลือ ประพฤติอยู่ หรือหมู่
สาวกของคณาจารย์ผู้เจริญเหล่าอื่น. ดูก่อนกัสสป วิญญูชนในโลกนี้ เมื่อ
ซักไซ้ไล่เลียงสอบสวน ดังนี้ โดยมากพึงสรรเสริญเราพวกเดียวในข้อนั้น.
ดูก่อนกัสสป มรรคมีอยู่ ปฏิปทามีอยู่ บุคคลปฏิบัติตามแล้วจะรู้เอง จะเห็น
เองว่า พระสมณโคดมกล่าวตามกาล กล่าวจริง กล่าวอรรถ กล่าวธรรม
กล่าววินัย. ดูก่อนกัสสป มรรคเป็นไฉน ปฏิปทาเป็นไฉน ที่บุคคลปฏิบัติ
แล้ว จะรู้เอง จะเห็นเองว่า พระสมณโคดมกล่าวตามกาล กล่าวจริง กล่าว-
อรรถ กล่าวธรรม กล่าววินัย. มรรคมีองค์ 8 อัน ประเสริฐนี้ คือ ความ
เห็นชอบ ความดำริชอบ พูดชอบ การงานชอบ เลี้ยงชีพชอบ พยายามชอบ
ระลึกชอบ ตั้งใจชอบ. ดูก่อนกัสสป มรรคนี้แล ปฏิปทานี้ ที่บุคคลปฏิบัติ
ตามแล้ว จะรู้เอง จะเห็นเองว่า พระสมณโคดมกล่าวตามกาล กล่าวจริง
กล่าวอรรถ กล่าวธรรม กล่าววินัย.
[266] ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว อเจลกัสสปได้ทูลว่า
ข้าแต่พระโคดมผู้มีอายุ การบำเพ็ญตบะแม้เหล่านี้ นับว่าเป็นสามัญคุณ และ
นับว่าเป็นพรหมัญคุณของสมณพราหมณ์เหล่านั้น คือ คนเปลือย ทอดทิ้ง
มรรยาท เลียมือ เชิญให้มารับภิกษาก็ไม่มา เชิญให้หยุดก็ไม่หยุด ไม่รับ
ภิกษาที่แบ่งไว้ก่อน ไม่รับภิกษาที่ทำเจาะจง ไม่รับภิกษาที่ได้นิมนต์ไว้ เขา
ไม่รับภิกษาจากปากหม้อ ไม่รับภิกษาจากปากหม้อข้าว ไม่รับภิกษาที่บุคคลยืน
คร่อมธรณีประตูนำมา ไม่รับภิกษาที่บุคคลยืนคร่อมท่อนไม้นำมา ไม่รับ
ภิกษาที่บุคคลยืนคร่อมสากนำมา ไม่รับภิกษาของคน 2 คน ที่กำลังบริโภค
อยู่ ไม่รับภิกษาของหญิงมีครรภ์ ไม่รับภิกษาของหญิงผู้กำลังให้ลูกดูดนม

ไม่รับภิกษาของหญิงผู้คลอเคลียบุรุษ ไม่รับภิกษาที่นัดแนะกันทำไว้ ไม่รับ
ภิกษาในที่ซึ่งสุนัขได้รับเลี้ยงดู ไม่รับภิกษาในที่มีแมลงวันไต่ตอมเป็นกลุ่ม
ไม่กินปลา ไม่กินเนื้อ ไม่ดื่มสุรา ไม่ดื่มเมรัย ไม่ดื่มของหมักดอง. เขารับภิกษา
ที่เรือนหลังเดียว เยียวยาอัตภาพด้วยข้าวคำเดียวบ้าง รับภิกษาที่เรือนสองหลัง
เยียวยาอัตภาพด้วยข้าวสองคำบ้าง รับภิกษาที่เรือนเจ็ดหลัง เยียวยาอัตภาพ
ด้วยข้าวเจ็ดคำบ้าง เยียวยาอัตภาพด้วยภิกษาในถาดใบเดียวบ้าง สองใบบ้าง
เจ็ดใบบ้าง กินอาหารที่เก็บค้างไว้วันหนึ่งบ้าง สองวันบ้าง เจ็ดวันบ้าง.
เป็นผู้ประกอบความขวนขวายในการบริโภคภัตที่เวียนมาตั้งกึ่งเดือนเช่นนี้บ้าง
ข้าแต่พระโคดมผู้มีอายุ การบำเพ็ญตบะของสมณพราหมณ์เหล่านี้ นับว่าเป็น
สามัญคุณและเป็นพรหมัญคุณ คือ เป็นผู้มีผักดองเป็นภักษาบ้าง มีข้าวฟ่าง
เป็นภักษาบ้าง มีลูกเดือยเป็นภักษาบ้าง มีกากข้าวเป็นภักษาบ้าง มียางเป็น
ภักษาบ้าง มีสาหร่ายเป็นภักษาบ้าง มีรำเป็นภักษาบ้าง มีข้าวตังเป็นภักษา
บ้าง มีกำยานเป็นภักษาบ้าง มีหญ้าเป็นภักษาบ้าง มีโคมัยเป็นภักษาบ้าง
มีเหง้าและผลไม้ในป่าเป็นอาหาร บริโภคผลไม้หล่น เยียวยาอัตภาพ. ข้าแต่
พระโคดมผู้มีอายุ การบำเพ็ญตบะ ของสมณพราหมณ์เหล่านี้ จัดเป็นสามัญ-
คุณ และเป็นพรหมัญคุณ คือ เขาทรงผ้าป่านบ้าง ผ้าแกมกันบ้าง ผ้าห่อศพ
บ้าง ผ้าบังสุกุลบ้าง ผ้าเปลือกไม้บ้าง หนังเสือบ้าง หนังเสือทั้งเล็บบ้าง
ผ้าคากรองบ้าง ผ้าเปลือกปอกรองบ้าง ผ้าผลไม้กรองบ้าง ผ้ากัมพลทำด้วย
ผมคนบ้าง ผ้ากัมพลทำด้วยขนสัตว์บ้าง ผ้าทำด้วยขนปีกนกเค้าแมวบ้าง เป็นผู้
ถอนผนและหนวด ประกอบความขวนขวายในการถอนผมและหนวดบ้าง เป็น
ผู้ยืนห้ามอาสนะบ้าง เป็นผู้กระโหย่ง ประกอบความเพียรในการกระโหย่งบ้าง
เป็นผู้นอนบนหนาม สำเร็จการนอนบนหนามบ้าง สำเร็จการนอนบนแผ่น-

กระดานบ้าง สำเร็จการนอนบนเนินดินบ้าง เป็นผู้นอนตะแคงข้างเดียวบ้าง
เป็นผู้หมักหมมด้วยธุลีอยู่กลางแจ้ง นั่งบนอาสนะตามที่ลาดไว้บ้าง เป็นผู้
บริโภคคูถ ประกอบความขวนขวายในการบริโภคคูถบ้าง เป็นผู้ห้ามน้ำเย็น
ขวนขวายในการห้ามน้ำเย็นบ้าง เป็นผู้ประกอบความขวนขวายในการอาบน้ำ
วันละสามครั้งอยู่บ้าง.
[267] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนกัสสป แม้ถ้าเขาเป็นผู้เปลือย
ทอดทิ้งมรรยาท เลียมือ ฯลฯ เป็นผู้ประกอบความขวนขวายในการบริโภคภัต
ที่เวียนมาตั้งกึ่งเดือนเช่นนี้บ้าง. สีลสัมปทา จิตตสัมปทา หรือปัญญา-
สัมปทานี้ เป็นอันเขาไม่ได้อบรมแล้ว ไม่ได้กระทำให้แจ้งแล้ว. ที่แท้ เขา
ยังห่างไกลจากสามัญคุณ และพรหมัญคุณ. ดูก่อนกัสสป ต่อเมื่อภิกษุเจริญ
เมตตาจิตอันไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน และทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญา-
วิมุตติ อันหาอาสวะมิได้เพราะอาสวะสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่ง ด้วยตนเองใน
ปัจจุบัน เข้าถึงอยู่. ดูก่อนกัสสป ภิกษุนี้เราเรียกว่า สมณะบ้าง พราหมณ์
บ้าง. ดูก่อนกัสสป แม้ถ้าเขาเป็นผู้มีผักดองเป็นภักษา มีข้าวฟ่างเป็นภักษา
ฯลฯ มีเหง้าและผลไม้ในป่าเป็นอาหาร บริโภคผลไม้หล่น เยียวยาอัตภาพ.
เพียงเท่านี้ สีลสัมปทา จิตตสัมปทา ปัญญาสัมปทา นี้เป็นอันเขาไม่ได้อบรม
แล้ว ไม่ได้กระทำให้แจ้งแล้ว. ที่แท้เขายังห่างไกลจากสามัญคุณ และ
พรหมัญคุณ. ดูก่อนกัสสป ต่อเมื่อภิกษุเจริญเมตตาจิตอันไม่มีเวร ไม่มีความ
เบียดเบียน และทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้เพราะ
อาสวะสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่. ดูก่อนกัสสป
ภิกษุนี้เราเรียกว่า สมณะบ้าง พราหมณ์บ้าง. ดูก่อนกัสสป แม้ถ้าเขาทรงผ้า-
ป่านบ้าง ผ้าแกมกันบ้าง ฯลฯ เป็นผู้ประกอบความขวนขวายในการอาบน้ำ

วันละสามครั้งอยู่บ้าง เพียงเท่านี้ สีลสัมปทา จิตตสัมปทา ปัญญาสัมปทานี้
เป็นอันเขาไม่ได้อบรมแล้ว ไม่ได้กระทำให้แจ้งแล้ว. ที่แท้เขายังห่างไกล
จากสามัญคุณ และพรหมัญคุณ. ดูก่อนกัสสป ต่อเมื่อภิกษุเจริญเมตตาจิต
อันไม่มีเวร ไม่ความเบียดเบียน และทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ
อันหาอาสวะมิได้เพราะอาสวะสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองในปัจจุบัน
เข้าถึงอยู่. ดูก่อนกัสสป ภิกษุนี้เราเรียกว่า สมณะบ้าง พราหมณ์บ้าง.
[268] ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว อเจลกัสสปได้ทูล
ว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ สามัญคุณทำได้ยาก พรหมัญคุณทำได้ยาก.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนกัสสป คำกล่าวนั่นเป็นปกติในโลกแล ที่
สามัญคุณทำได้ยาก พรหมัญคุณทำได้ยาก. ดูก่อนกัสสป แม้ถ้าเขาเป็นผู้เปลือย
ทอดทิ้งมรรยาท เลียมือ ฯลฯ เป็นผู้ประกอบความขวนขวายในการบริโภคภัต
ที่เวียนมาตั้งกึ่งเดือนอยู่เช่นนี้บ้าง. ดูก่อนกัสสป สามัญคุณหรือพรหมัญคุณ
จักเป็นกิจที่กระทำได้ยาก กระทำได้แสนยาก ด้วยการปฏิบัติมีประมาณน้อยนี้
และด้วยการบำเพ็ญตบะนี้แล้ว ข้อนั้นไม่น่าจักต้องกล่าวว่า สามัญคุณทำได้
ยาก พรหมัญคุณทำได้ยากดังนี้แล ก็คหบดีหรือบุตรคหบดี โดยที่สุดแม้นาง
กุมภทาสี จักอาจทำสามัญคุณและพรหมัญคุณนั้นได้ด้วยการกล่าวว่า เอาเถอะ
เราจักเป็นคนเปลือยทอดทิ้งมรรยาท. เลียมือ ฯลฯ เป็นผู้ประกอบความขวนขวาย
ในการบริโภคภัตที่เวียนมาตั้งกึ่งเดือนอยู่เช่นนี้บ้าง. ดูก่อนกัสสป ก็เพราะ
สามัญคุณ หรือพรหมัญคุณ เป็นกิจที่ทำได้ยาก ทำได้แสนยาก เพราะต้องเว้น
การปฏิบัติมีประมาณน้อยนี้ และต้องเว้นการบำเพ็ญตบะนี้ เพราะฉะนั้น การที่
กล่าวว่าสามัญคุณทำได้ยาก พรหมัญคุณทำได้ยากนั่น สมควรแล้ว. ดูก่อน
กัสสปต่อเมื่อภิกษุเจริญเมตตาจิตอันไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน และทำให้

แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้เพราะอาสวะสิ้นไป ด้วย
ปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่. ดูก่อนกัสสป ภิกษุนี้เราเรียกว่า
สมณะบ้าง พราหมณ์บ้าง. ดูก่อนกัสสป แม้ถ้าเขา เป็นผู้มีผักดองเป็นภักษาบ้าง
มีข้าวฟ่างเป็นภักษาบ้าง ฯลฯ มีเหง้าและผลไม้ในป่าเป็นอาหาร บริโภค
ผลไม้หล่นเยียวยาอัตภาพ. ดูก่อนกัสสป สามัญคุณ. หรือพรหมัญคุณ จัก
เป็นกิจที่ทำได้ยาก กระทำได้แสนยาก ด้วยการปฏิบัติมีประมาณน้อยนี้ และ
ด้วยการบำเพ็ญตบะนี้แล้ว ไม่น่าจะต้องกล่าวว่า สามัญคุณทำได้ยาก พรหม-
มัญคุณทำได้ยาก ดังนี้เลย ก็คหบดีหรือบุตรคหบดีโดยที่สุดแม้นางกุมภทาสี
จักอาจทำสามัญคุณและพรหมัญคุณนั้นได้ ด้วยการกล่าวว่า เอาเถอะ เราจะ
เป็นคนเปลือย มีผักดองเป็นภักษาบ้าง มีข้าวฟ่างเป็นภักษาบ้าง ฯลฯ มีเหง้า
และผลไม้ในป่าเป็นอาหาร บริโภคผลไม้หล่นเยียวยาอัตภาพ. ดูก่อนกัสสป
ก็เพราะสามัญคุณหรือพรหมัญคุณ เป็นกิจที่ทำได้ยาก กระทำได้แสนยาก
เพราะต้องเว้นการปฏิบัติมีประมาณน้อยนี้ และต้องเว้นการบำเพ็ญตบะนี้
เพราะฉะนั้น การที่กล่าวว่า สามัญคุณทำได้ยาก พรหมัญคุณทำได้ยาก ดัง
นี้ สมควรแล้ว. ดูก่อนกัสสป ต่อเมื่อภิกษุเจริญเมตตาจิตอันไม่มีเวร ไม่มี
ความเบียดเบียน และทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะ
มิได้เพราะอาสวะสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองในปัจจุบันเข้าถึงอยู่.
ดูก่อนกัสสป ภิกษุนี้เราเรียกว่า สมณะบ้าง พราหมณ์บ้าง. ดูก่อนกัสสป แม้
ถ้าเขาทรงผ้าป่านบ้าง ผ้าแกมกันบ้าง ฯลฯ ประกอบความขวนขวายในการ
อาบน้ำวันละสามครั้งอยู่บ้าง. ดูก่อนกัสสป สามัญคุณหรือพรหมัญคุณ จัก
เป็นกิจที่กระทำได้ยาก กระทำได้แสนยาก ด้วยการปฏิบัติมีประมาณน้อยนี้
และด้วยการบำเพ็ญตบะนี้แล้ว ไม่น่าจักต้องกล่าวว่า สามัญคุณทำได้ยาก

พรหมัญคุณทำได้ยาก ดังนี้เลย.. ก็คหบดีหรือบุตรคหบดี โดยที่สุดแม้นาง
กุมภทาสี จักอาจทำสามัญคุณ และพรหมัญคุณนี้ได้ด้วยการกล่าวว่า เอา
เถอะเราจะทรงผ้าป่านบ้าง ผ้าแกมกันบ้าง ฯลฯ ประกอบความขวนขวายใน
การลงอาบน้ำวันละสามครั้งอยู่บ้าง. ดูก่อนกัสสปะ ก็เพราะสามัญคุณหรือ
พรหมัญคุณ เป็นกิจที่กระทำได้ยาก กระทำได้แสนยาก เพราะต้องเว้นการ
ปฏิบัติมีประมาณน้อยนี้ และเพราะต้องเว้นการบำเพ็ญตบะนี้ เพราะฉะนั้น
การที่กล่าวว่า สามัญคุณทำได้ยาก พรหมัญคุณทำได้ยาก ดังนี้ สมควร
แล้ว. ดูก่อนกัสสปะ ต่อเมื่อภิกษุเจริญเมตตาจิตอันไม่มีเวร ไม่มีความเบียด-
เบียน และทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้เพราะ
อาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองไปปัจจุบัน เข้าถึงอยู่. ดูก่อนกัสสปะ
ภิกษุนี้เราเรียกว่า สมณะบ้าง พราหมณ์บ้าง.
[269] ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว อเจลกัสสปะได้ทูล
ว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ สมณะรู้ได้ยาก พราหมณ์รู้ได้ยาก. พระผู้มีพระภาค-
เจ้าตรัสว่า ดูก่อนกัสสปะ คำกล่าวที่ว่า สมณะรู้ได้ยาก พราหมณ์รู้ได้ยาก นั่น
เป็นปกติในโลกแล
. ดูก่อนกัสสปะ แม้ถ้าเขาเป็นคนเปลือย ทอดทิ้งมรรยาท เลีย
มือ ฯลฯ ประกอบความขวนขวายในการบริโภคภัตที่เวียนมาตั้งกึ่งเดือนเห็นปาน
นี้อยู่ ดูก่อนกัสสปะ สมณะหรือพราหมณ์จักรู้ได้ยาก รู้ได้แสนยาก ด้วยการ
ปฏิบัติมีประมาณน้อยนี้ และด้วยการบำเพ็ญตบะนี้แล้ว ไม่น่าจะต้องกล่าวว่า
สมณะรู้ได้ยาก พราหมณ์รู้ได้ยาก ดังนี้เลย. ก็คหบดีหรือบุตรคหบดีโดยที่
สุดแม้นางกุมภทาสี จักอาจ สามัญคุณ และพรหมัญคุณนี้ได้ว่า สมณะหรือ
พราหมณ์แม้นี้ เป็นคนเปลือย ทอดทิ้งมรรยาท เลียมือ ฯลฯ ประกอบความ
ขวนขวายในการบริโภคภัตที่เวียนมาตั้งกึ่งเดือน เช่นนี้บ้าง. ดูก่อนกัสสปะ ก็

เพราะสมณะหรือพราหมณ์เป็นผู้รู้ได้ยาก รู้ได้แสนยาก เพราะต้องเว้นการ
ปฏิบัติมีประมาณน้อยนี้ และต้องเว้นการบำเพ็ญตบะนี้ เพราะฉะนั้นการที่
กล่าวว่า สมณะรู้ได้ยาก พราหมณ์รู้ได้ยาก ดังนี้สมควรแล้ว. ดูก่อนกัสสปะ
ต่อเมื่อภิกษุเจริญเมตตาจิตอันไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน และทำให้แจ้ง
ซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะสิ้นไป ด้วยปัญญาอัน
ยิ่งด้วยตนเองในปัจจุบันเข้าถึงอยู่. ดูก่อนกัสสปะ ภิกษุนี้เราเรียกว่า สมณะบ้าง
พราหมณ์บ้าง. ดูก่อนกัสสปะ แม้ถ้าเขาเป็นผู้มีผักดองเป็นภักษาบ้าง มีข้าว
ฟ่างเป็นภักษาบ้าง ฯลฯ มีเหง้าและผลไม้ในป่าเป็นอาหาร บริโภคผลไม้ที่
หล่นเยียวยาอัตภาพ. ดูก่อนกัสสปะ สมณะหรือพราหมณ์ จักรู้ได้ยาก รู้ได้แสน
ยาก ด้วยการปฏิบัติมีประมาณน้อยนี้ และด้วยการบำเพ็ญตบะนี้ ไม่น่าจัก
ต้องกล่าวว่า สมณะรู้ได้ยาก พราหมณ์รู้ได้ยาก ดังนี้เลย. ก็สมณะหรือ
พราหมณ์นั่น อันคหบดีหรือบุตรคหบดีโดยที่สุดแม้นางกุมภทาสี จักอาจรู้
ได้ว่า สมณะหรือพราหมณ์นี้ เป็นผู้มีผักดองเป็นภักษา มีข้าวฟ่างเป็นภักษา
ฯลฯ มีเหง้าและผลไม้ในป่าเป็นอาหาร บริโภคผลไม้ที่หล่นเยียวยาอัตภาพ.
ดูก่อนกัสสปะ สมณะหรือพราหมณ์เป็นผู้รู้ได้ยาก รู้ได้แสนยาก เพราะต้อง
เว้นจากการปฏิบัติอันมีประมาณน้อยนี้ และต้องเว้นการบำเพ็ญตบะนี้ เพราะ
ฉะนั้นจึงสมควรกล่าวว่า สมณะรู้ได้ยาก พราหมณ์รู้ได้ยาก. ดูก่อนกัสสปะ ก็
เพราะภิกษุเจริญเมตตาจิตอันไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน และทำให้แจ้ง
ซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะสิ้นไป ด้วยปัญญาอัน
ยิ่ง ด้วยตนเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่. ดูก่อนกัสสป ภิกษุนี้เราเรียกว่า สมณะบ้าง
พราหมณ์บ้าง. ดูก่อนกัสสปะ แม้ถ้าเขาทรงผ้าป่านบ้าง ผ้าแกมกันบ้าง ฯลฯ
ประกอบความขวนขวายในการอาบน้ำวันละสามครั้งอยู่บ้าง. ดูก่อนกัสสปะ

สมณะหรือพราหมณ์จักรู้ได้ยาก รู้ได้แสนยาก ด้วยการปฏิบัติมีประมาณน้อย
นี้ และด้วยการบำเพ็ญตบะนี้ ไม่น่าจักกล่าวว่า สมณะรู้ได้ยาก พราหมณ์
รู้ได้ยาก ดังนี้เลย. ก็สมณะหรือพราหมณ์นั้น อันคหบดีหรือบุตรคหบดี
โดยที่สุดแม้นางกุมภทาสี จักอาจรู้ได้ว่า สมณะหรือพราหมณ์นี้ ทรงผ้าป่าน
บ้าง ทรงผ้าแกมกันบ้าง ฯลฯ ประกอบด้วยการขวนขวายในการอาบน้ำวัน
ละสามครั้งอยู่บ้าง. ดูก่อนกัสสปะ เพราะเว้นจากการปฏิบัติมีประมาณน้อยนี้
และเว้นจากการบำเพ็ญตบะนี้ สมณะหรือพราหมณ์จะรู้ได้ยาก รู้ได้แสนยาก
เพราะฉะนั้น จึงสมควรกล่าวว่า สมณะรู้ได้ยาก พราหมณ์รู้ได้ยาก. ดูก่อน
กัสสปะ ต่อเมื่อภิกษุเจริญเมตตาจิตอันไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน และทำ
ให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้เพราะอาสวะสิ้นไป
ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองในปัจจุบันเข้าถึงอยู่. ดูก่อนกัสสปะ ภิกษุนี้เรา
เรียกว่า สมณะบ้าง พราหมณ์บ้าง ดังนี้.
[270] ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว อเจลกัสสปะได้ทูล
ว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ก็สีลสัมปทานนั้นเป็นไฉน จิตตสัมปทาเป็นไฉน
ปัญญาสัมปทาเป็นไฉน. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนกัสสปะ พระตถาคต
เสด็จอุบัติในโลกนี้ เป็นพระอรหันต์ตรัสรู้ชอบเอง ฯลฯ ดูก่อนกัสสปะ ก็ภิกษุ
เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีลเป็นอย่างไร ภิกษุในศาสนานี้ละการฆ่าสัตว์ งดเว้นจาก
การฆ่าสัตว์ วางท่อนไม้ วางศาตรา มีความละอาย มีความเอ็นดู มีความ
กรุณา หวังประโยชน์แก่สัตว์ทั้งปวงอยู่ ข้อนี้เป็นสีลสัมปทาของเธอประการ
หนึ่ง ฯลฯ ภิกษุนั้นประกอบพร้อมด้วยศีลสีลขันธ์อันประเสริฐนี้ เสวยสุขอันไม่
มีโทษ เป็นไปในภายใน ดูก่อนกัสสปะ ภิกษุเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีลอย่างนี้ นี้
แลสีลสัมปทานั้น ฯลฯ บรรลุปฐมฌานอยู่ นี้เป็นจิตสัมปทาของเธอประการ

หนึ่ง นี้แลจิตตสัมปทา ฯลฯ โน้ม น้อมจิตไปเพื่อญาณทัสสนะ. นี้เป็นปัญญา-
สัมปทาของเธอประการหนึ่ง ฯลฯ รู้ชัดว่า ฯลฯ กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้
มิได้มี นี้เป็นปัญญาสัมปทาของเธอประการหนึ่ง นี้แลญาณสัมปทา. ดูก่อน
กัสสปะ สีลสัมปทา จิตตสัมปทา ปัญญาสัมปทาอย่างอื่นที่ยิ่งกว่า หรือประณีต
กว่า สีลสัมปทา จิตตสัมปทา ปัญญาสัมปทานี้ไม่มีเลย.
[271] ดูก่อนกัลสปะ มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งเป็นผู้กล่าวศีล สรรเสริญ
คุณแห่งศีลโดยอเนกปริยาย. ดูก่อนกัสสปะ ศีลอันประเสริฐยอดเยี่ยมมีประมาณ
เท่าใด เรายังไม่เห็นผู้ใดทัดเทียมเราในศีลนั้น ผู้ที่ยิ่งกว่าจะมีที่ไหน ที่จริง
เราผู้เดียวเป็นผู้ยิ่งในศีลนั้น คือ อธิศีล. ดูก่อนกัสสปะ มีสมณพราหมณ์พวก
หนึ่งเป็นผู้กล่าวตบะอันกีดกันกิเลส กล่าวสรรเสริญคุณตบะอันกีดกันกิเลส
โดยอเนกปริยาย. ดูก่อนกัสสปะ ตบะอันกีดกันกิเลสอันประเสริฐยอดเยี่ยมมี
ประมาณเท่าใด เรายังไม่เห็นผู้ใดทัดเทียมเราในตบะนั้น ผู้ที่ยิ่งกว่าจะมีที่ไหน
ที่จริง เราผู้เดียวเป็นผู้ยิ่งในตบะนั้น คือ อธิจิต. ดูก่อนกัสสปะ ยังมีสมณ-
พราหมณ์พวกหนึ่งเป็นผู้กล่าวปัญญา สรรเสริญคุณแห่งปัญญาโดยอเนกปริยาย.
ดูก่อนกัสสปะ ปัญญาอันประเสริฐ ยอดเยี่ยมมีประมาณเท่าใด เรายังไม่เห็นผู้ใด
ทัดเทียมเรา ในปัญญานั้น ผู้ที่ยิ่งกว่าจะมีที่ไหน แท้จริง เราผู้เดียวเป็นผู้
ยิ่งกว่า ในปัญญานั้นคือ อธิปัญญา. ดูก่อนกัสสปะ มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง
เป็นผู้กล่าววิมุตติ สรรเสริญคุณแห่งวิมุตติโดยอเนกปริยาย. ดูก่อนกัสสปะ
วิมุตติอันประเสริฐยอดเยี่ยมมีประมาณเท่าใด เราไม่เห็นผู้ใดทัดเทียมเราใน
วิมุตตินั้น ผู้ที่ยิ่งกว่าจะมีที่ไหน แท้จริงเราผู้เดียวเป็นผู้ยิ่งกว่าในวิมุตตินั้น
คือ อธิวิมุตติ.

[272] ดูก่อนกัสสปะ ก็ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้ คือพวกปริพาชก
อัญญเดียรถีย์ จะพึงกล่าวอย่างนี้ว่า พระสมณโคดมบันลือสีหนาท แต่บันลือ
ในเรือนว่าง ไม่ใช่ในบริษัท. ท่านพึงบอกปริพาชกพวกนั้นว่า พวกท่านอย่า
กล่าวอย่างนี้เลย. ดูก่อนกัสสปะ ท่านพึงบอกอย่างนี้ว่า พระสมณโคดมบันลือ
สีหนาท บันลือในบริษัท ไม่ใช่ในเรือนว่าง. ดูก่อนกัสสปะ ก็ข้อนี้เป็นฐานะ
ที่จะมีได้ คือ พวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์ จะพึงกล่าวอย่างนี้ว่า พระสมณะ-
โคดมบันลือสีหนาท และบันลือในบริษัท ไม่ใช่บันลืออย่างองอาจ. ท่าน
พึงบอกปริพาชกพวกนั้นว่า พวกท่านอย่ากล่าวอย่างนี้เลย. ดูก่อนกัสสปะ ท่าน
พึงบอกอย่างนี้ว่า พระสมณโคดมบันลือสีหนาท และบันลือในบริษัท ทั้ง
บันลืออย่างองอาจ. ดูก่อนกัสสปะ ก็ข้อนี้เป็นฐานที่จะมีได้ คือ พวกปริพาชก
อัญญเดียรถีย์จะพึงกล่าวอย่างนี้ พระสมณโคดมบันลือสีหนาท และบันลือใน
บริษัท ทั้งบันลืออย่างองอาจ แต่เทวดาและมนุษย์มิได้ถามปัญหาเธอ ถึงถาม
เธอก็พยากรณ์ไม่ได้ ถึงจะพยากรณ์ได้ ก็ยังจิตของเขาให้ยินดีด้วยการพยากรณ์
ปัญหาไม่ได้ ถึงให้ยินดีได้ เขาก็ไม่สำคัญจะฟัง ถึงฟัง ก็ไม่เลื่อมใส ถึง
เลื่อมใสก็ไม่ทำอาการของผู้เลื่อมใส ถึงทำก็ไม่ปฏิบัติเพื่อความเป็นอย่างนั้น
ถึงปฏิบัติก็ไม่ชื่นชม. ท่านพึงบอกพวกเขาว่า พวกท่านอย่าได้กล่าวอย่างนี้
เลย. ดูก่อนกัสสปะ ท่านพึงบอกอย่างนี้ว่า พระสมณโคดมบันลือสีหนาท และ
บันลือในบริษัท ทั้งบันลืออย่างองอาจ เทวดาและมนุษย์ย่อมถามปัญหา
พระองค์ พระองค์ถูกถามปัญหาแล้ว ย่อมพยากรณ์แก่เทวดาและมนุษย์เหล่านั้น
ได้ ยังจิตของเทวดาและมนุษย์เหล่านั้น ให้ยินดีด้วยการพยากรณ์ปัญหา เทวดา
และมนุษย์เหล่านั้นย่อมสำคัญปัญหาพยากรณ์ว่า อันตน ๆ ควรฟัง ครั้นฟัง
แล้วย่อมเลื่อมใส ครั้นเลื่อมใสแล้ว ย่อมทำอาการของผู้เลื่อมใส ย่อมปฏิบัติ

เพื่อความเป็นอย่างนั้น ครั้นปฏิบัติแล้ว ย่อมชื่นชม. ดูก่อนกัสสปะ. สมัย
หนึ่งเราอยู่ที่ภูเขาคิชฌกูฏ ใกล้กรุงราชคฤห์. เพื่อนพรหมจรรย์ของท่านคน
หนึ่งในกรุงราชคฤห์นั้น ชื่อว่า นิโครธปริพาชก ได้ถามปัญหาในตบะอันกีด
กันกิเลสอย่างยิ่ง เราถูกถามแล้วได้พยากรณ์แก่เขา เมื่อเราพยากรณ์แล้วเขา
ปลื้มใจเหลือเกิน.
[273] อเจลกัสสปะทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ใครเล่า ฟังธรรม
ของผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว จะไม่ปลื้มใจอย่างเหลือเกิน แม้ข้าพระองค์ฟังธรรม
ของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ยังปลื้มใจเหลือเกิน ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภาษิต
ไพเราะยิ่งนัก ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภาษิตไพเราะยิ่งนัก เปรียบเหมือนหงายของ
ที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง หรือส่องประทีปในที่มืดด้วย
คิดว่า ผู้มีจักษุจะเห็นรูปดังนี้ ฉันใด พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประกาศพระธรรม
โดยอเนกปริยายฉันนั้นเหมือนกัน ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์นี้
ขอถึงพระผู้มีพระภาคเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ข้าพระองค์
พึงได้บรรพชา พึงได้อุปสมบทในสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้า ดังนี้.
[274] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนกัสสปะ ผู้ใดเคยเป็นอัญญ-
เดียรถีย์ หวังบรรพชา หวังอุปสมบทในธรรมวินัยนี้ ผู้นั้นจะต้องอยู่ปริวาส
4 เดือน ต่อล่วง 4 เดือน ภิกษุทั้งหลายเต็มใจแล้ว จึงให้บรรพชา ให้อุปสมบท
เพื่อความเป็นภิกษุ ก็แต่ว่า เรารู้ความต่างแห่งบุคคลในข้อนี้. อเจลกัสสปะ
ทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หากผู้ที่เคยเป็นอัญญเดียรถีย์ หวังบรรพชา
หวังอุปสมบท ในพระธรรมวินัยนี้ จะต้องอยู่ปริวาส 4 เดือน ต่อล่วง 4 เดือน
ภิกษุทั้งหลายเต็มใจแล้ว จึงให้บรรพชา ให้อุปสมบท เพื่อความเป็นภิกษุไซร้

ข้าพระองค์จักอยู่ปริวาส 4 ปี ต่อล่วง 4 ปี ภิกษุทั้งหลายเต็มใจแล้วจึงให้บรรพ-
ชาให้อุปสมบท เพื่อความเป็นภิกษุ. อเจลกัสสปะได้บรรพชา ได้อุปสมบท
ในสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว.
ก็ท่านกัสสปะอุปสมบทแล้วไม่นาน หลีกออกแต่ผู้เดียว ไม่ประมาท
มีความเพียร มีตนส่งไปแล้ว ไม่นานนัก ก็ทำให้แจ้งซึ่งที่สุดแห่ง
พรหมจรรย์อันยอดเยี่ยม ซึ่งกุลบุตรทั้งหลายผู้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต
โดยชอบตองการนั้น ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ รู้ชัดว่า
ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อ
ความเป็นอย่างนี้มิได้มีดังนี้. ก็ท่านกัสสปะได้เป็นพระอรหันต์รูปหนึ่งใน
จำนวนพระอรหันต์ทั้งหลาย ฉะนี้แล.
จบมหาสีหนาทสูตรที่ 8

อรรถกถามหาสีหนาทสูตร


มหาสีหนาทสูตรว่า ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ ฯลฯ พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าประทับอยู่ในเมืองอุรุญญา1. เป็นต้น. ในมหาสีหนาทสูตรนั้นมีการ
พรรณนาตามลำดับบท ดังต่อไปนี้
บทว่า อรุญฺญายํ ความว่าคำว่า อุรุญญา นี่แหละเป็นชื่อของแคว้น
บ้าง ของเมืองบ้าง. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอาศัยเมืองอุรุญญาประทับอยู่.
บทว่า ในสวนกวางชื่อกัณณกถละ คือ ภูมิภาคที่น่ารื่นรมย์แห่งหนึ่ง ชื่อ
กัณณกถละมีอยู่ในที่ไม่ไกลแห่งเมืองนั้น. ภูมิภาคนั้น เรียกว่า สวนกวาง
เพราะพระราชทานอภัยแก่กวาง ในสวนกวางชื่อกัณณกถละนั้น.
บทว่า เปลือย คือ นักบวชเปลือย. บทว่า กัสสปะ เป็นชื่อของ
นักบวช นั้น. บทว่า ผู้มีตปะ คือ ผู้อาศัยตปะ. บทว่า ผู้มีการเลี้ยงชีพ
เศร้าหมอง
คือ การเลี้ยงชีพของนักบวชนั้นเศร้าหมองด้วยอำนาจแห่งความ
เปลือยและการมีความประพฤติเสียเป็นต้น เหตุนั้น จึงชื่อว่ามีการเลี้ยงชีพ
เศร้าหมอง. ผู้มีการเลี้ยงชีพเศร้าหมองนั้น. บทว่า ย่อมติเตียน คือ ย่อม
ตำหนิ. บทว่า ย่อมว่าร้าย คือ ย่อมเย้ยหยัน ย่อมเพิดเพ้ย. บทว่า และ
ย่อมพยากรณ์ธรรมตามสมควรแก่ธรรม
คือ ย่อมกล่าวเหตุสมควรแก่เหตุที่
พระโคตมะผู้เจริญตรัสแล้ว. บทว่า วาทะและอนุวาทะ เป็นไปกับด้วยธรรม
คือ วาทะและอนุวาทะของท่าน มีเหตุด้วยเหตุที่คนอื่นกล่าวแล้วคือเหตุอัน
1. บาลีเป็น อุชุญญา.